จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562

"ปลูกผักหวานป่าอย่างไร...ให้รอด และรายได้งาม"

"ปลูกผักหวานป่าอย่างไร...ให้รอด และรายได้งาม"

"ปลูกผักหวานป่าอย่างไร...ให้รอด และรายได้งาม"
" เทคนิค ปลูกผักหวานป่าอย่างไร...ให้รอด"
เคยได้ยินมาว่า ปลูกต้นผักหวานป่าให้รอดนั้นไม่ง่าย แต่ถ้ารอดแล้วก็อยู่ยาวเป็น10 ปีเลยทีเดียว 
ว่าแล้ว...ก็ลองปลูกต้นผักหวานป่าบ้างดีกว่า อยากรู้ว่ามันจะยากเหมือนที่เคยได้ยินมามั้ย... 
ต้นพันธุ์ผักหวานป่า
เราเริ่มต้นปลูกผักหวานป่า จำนวนทั้งหมด 100 ต้น กะว่าเหลือซัก 50 ต้น ก็นับว่าใช้ได้แล้วสำหรับเรา. แต่...ผลปรากฏว่าเกินความคาดหมาย คือ ตายไปแค่ 8 ต้น,เหลือรอด 92 ต้น... รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง ก็เลยโมเมเอาเองว่า วิธีนี้น่าจะเรียกได้ว่าเป็น " เทคนิคอย่างหนี่งที่ปลูกต้นผักหวานป่า ให้รอดตาย "ได้เช่นกัน.
  ก็อยากแบ่งปันประสบการณ์นี้แก่เพื่อนๆที่คิดจะปลูกผักหวานป่า ลองทำแบบเราดู แล้วท่านจะพบว่าไม่ยากอย่างที่คิด... 
ต้นแคและต้นมะขามเทศ เป็นไม้พี่เลี้ยงชั้นดีแก่ต้นผักหวานป่าต้นแคและต้นมะขามเทศ เป็นไม้พี่เลี้ยงชั้นดีแก่ต้นผักหวานป่า
ต้นแคและต้นมะขามเทศ เป็นไม้พี่เลี้ยงชั้นดีแก่ต้นผักหวานป่า
ต้นแคและต้นมะขามเทศ เป็นไม้พี่เลี้ยงชั้นดีแก่ต้นผักหวานป่า
      " เทคนิคปลูกต้นผักหวานป่า แบบสวนเกษตรอินทรีย์บ้านสันคู " มีดังนี้... 

 1. เลือกใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเมล็ดมาปลูก จะให้ผลผลิตดีและอายุยืนกว่า แบบกิ่งตอน 
 2. ปลูกพืชพี่เลี้ยงไว้ก่อนที่จะปลูกต้นผักหวานป่า เช่น ต้นมะขามเทศ,ชะอม,,โสน,กระถิน,ต้นแค ฯลฯ พืชที่กล่าวมานี้จัดเป็นพืชตระกูลถั่วทั้งหมด เลือกปลูกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือจะหลายอย่างก็ได้... สำหรับเราเลือกใช้ต้นแค ซึ่งปลูกไปพร้อมๆกับต้นผักหวาน และต้นมะขามเทศ (ต้นมะขามเทศนี่ ปลูกล่วงหน้ามาก่อนนานแล้ว)  เป็นพืชพี่เลี้ยง
3.เลือกทิศทางที่จะปลูกให้เหมาะสมตามสภาพของแสงแดด ต้นผักหวานป่านั้นไม่ชอบแดด ชอบอยู่ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ มีแสงรำไร
4.ระยะห่าง ระหว่างต้นและระหว่างแถว ~  2 x 2 เมตร
5.ขุดหลุมปลูก กว้าง และ ลึก เท่ากับขนาดของถุงต้นพันธ์ุ แล้วผสมปุ๋ยคอก( 2-3 กำมือ/ต้น) กับดิน ใส่รองก้นหลุมไว้

ต้นผักหวานป่า ปลูกแบบสองต้นคู่
ต้นผักหวานป่า ปลูกแบบสองต้นคู่
ต้นผักหวานป่า ปลูกแบบสองต้นคู่
6.เตรียมนำต้นพันธุ์ลงหลุมปลูก โดย ใช้กรรไกรตัดโดยรอบก้นถุง แล้วค่อยๆแกะถุงพลาสติกด้านล่างออกเท่านั้นตรงนี้ต้องระวังให้มากเป็นพิเศษเพราะปลายของรากแก้วจะมาขดตัวอยู่ในซอกมุมของถุง ถ้ารากแก้วหักหรือขาดโอกาสที่ต้นผักหวานป่าจะตายมีสูง แต่ถ้าเกิดพลาดทำรากขาดไปบ้าง ก็ปลูกไปเถอะ..เผื่อรอด ! ..ค่อยๆหย่อนต้นพันธุ์ลงหลุมโดยที่ไม่เอาถุงดำออก คือ ปลูกไปทั้งถุงนั่นแหละ มันอาจจะดูแปลกๆสักหน่อย แต่ตรงนี้นี่แหละที่เป็นเทคนิค...ที่ทำให้ต้นผักหวานของเรา รอดตายมาได้เกือบทุกต้น... ไม่ต้องกลัว เมื่อเวลาผ่านไป ถุงพลาสติกจะค่อยๆเปื่อยสลายไปเอง.

ต้นผักหวานป่าที่พึ่งเริ่มปลูก
ต้นผักหวานป่าที่พึ่งเริ่มปลูก
 ต้นแคและต้นผักหวานป่าอายุได้ 2 เดือน ต้นแคและต้นผักหวานป่าอายุได้ 2 เดือน
ต้นแคและต้นผักหวานป่าอายุได้ 2 เดือน
7.หาเศษใบไม้แห้ง หรือฟางข้าวมาคลุมโคนต้นไว้เพื่อรักษาความชื้น หลังจากนั้นต้องหาวัสดุอะไรก็ได้เช่น ตะเข่ง,ตะกร้า,แสลน  มาคลุมไว้ เพื่อช่วยบังแสงในช่วงบ่าย ต้นผักหวานจะไม่เหี่ยวเฉาเลยแม้แดดจะร้อนมากเพียงใด ของเราใช้ตะกร้าพลาสติก ควรครอบไว้จนกว่าต้นผักหวานจะมีอายุได้อย่างน้อย 6 เดือนก็เอาออกได้

ต้นผักหวานป่า อายุ 6 เดือน
ต้นผักหวานป่า อายุ 6 เดือน
ต้นผักหวานป่า อายุ 6 เดือน
.... หรือจะเจาะรูก้นตะกร้าแบบนี้ก็ได้เพื่อเป็นการปกป้องลมและแสงแดดได้อีกระดับหนึ่ง เพราะ ต้นผ้กหวานอายุ 6เดือนนั้นยังไม่แข็งแรงมากนัก
8.ให้น้ำ 1 ครั้ง /สป. หรือ ดูตามสภาพอากาศ ,ส่วนปุ๋ยคอกให้เดือนละ 1 ครั้ง -ทางดิน และให้น้ำขี้หมู 1 ครั้ง/สป.-ทางใบ ด้วยจะดีมาก
 จากผลการทดลองปลูกผักหวานป่าของเราพบว่า ....
   1) ต้นผักหวานที่่ตายไป 8 ต้นนั้นเกิดจากรากหักตอนแกะถุงปลูก... ข้อเสนอแนะ ควรซื้อต้นพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่านี้มาปลูกคือเริ่มมีใบ 3-4 ใบก็พอเพราะรากแก้วยังไม่ยาวมากเหมือนต้นที่โต ทำให้เวลาแกะถุงปลูกรากไม่ขาด  
   2) ต้นผักหวานเจริญเติบโตช้ามากในช่วงแรก เพราะเนื่องจากความเข้าใจผิดคิดว่าต้นผักหวานป่า ไม่ชอบน้ำ ชอบแบบแล้งๆไม่จำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่ก็ได้... ข้อเสนอแนะ ทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า ต้นผักหวานป่านั้น ถึงแม้จะทนแล้งได้ดี แต่ถ้าเราดูแลเหมือนปลูกพืชทั่วๆไป แค่นี้ต้นผักหวานก็จะเจริญเติบโตได้ดีกว่านี้แน่นอน                                                                                     
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : https://goo.gl/TEFnCs

แจกสูตรเพาะเห็ดปลวก สร้างรายได้หลายงาม

แจกสูตรเพาะเห็ดปลวก สร้างรายได้หลายงาม


แจกสูตรเพาะเห็ดปลวก สร้างรายได้หลายงาม

ปลูกเห็ดโคน หรือ เห็ดปลวกสร้างรายได้ ..ด้วยวิธีแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน

เห็ดโคน หรือ เห็ดปลวก คนละชนิดกับเห็ดโคนน้อย ความจริงเห็ดโคนน้อยคือเห็ดถั่ว โดยทั่วไปมักพบขึ้นอยู่ตามกองซากถั่วเหลือง หรือถั่วเขียว

ส่วนเห็ดโคนหรือเห็ดปลวกนั้น วงจรชีวิตของมันต้องพึ่งพาปลวกเข้ามาช่วย จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า ปลวกงานจะนำเอาสปอร์ ซึ่งเป็นหน่วยขยายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กมาก ทำหน้าที่เช่นเดียวกับเมล็ดพืชอื่นๆ ไปปลูกในรังให้เป็นอาหารของปลวกวัยอ่อน

ส่วนสปอร์ที่หลงเหลือ เมื่อได้รับความชื้นในฤดูฝนก็จะเติบโตโผล่พ้นผิวดินขึ้นมาปรากฏให้เห็น และเป็นอาหารอันโอชะของมนุษย์เรา

วิธีเพาะหรือปลูกเห็ดโคน ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน เริ่มจากนำจาวปลวก ที่อยู่ภายในจอมปลวก มีขนาดใกล้เคียงกับกะลามะพร้าวผ่าซีก จอมปลวกหนึ่งรังจะมีจาวปลวกหลายอัน มีลักษณะเบา โปร่ง ซุย มีรอยทางเดิน ซอกแซก ทะลุถึงกันได้ จาวปลวกน่าจะเป็นสวนปลูกเห็ดอ่อน เพราะมีเส้นใยขาวเต็มไปหมด สามารถพัฒนาเป็นดอกเห็ดต่อไป เกษตรกรจะนำส่วนนี้ออกมาถู หรือขยี้ ให้เป็นฝุ่นโปรยลงบนข้าวเหนียวนึ่งสุก ทิ้งให้เย็น เติมน้ำเล็กน้อยแล้วคลุกให้เข้ากัน คล้ายกับการทำสาโท

นำไปหมักในถังพลาสติก ปิดปากถังด้วยผ้าขาวบาง เกษตรกรบางท่านอาจฉีกหมวกเห็ดโคนผสมลงไปด้วยก็มี เก็บในร่ม ปล่อยให้เส้นใยเจริญเพิ่มปริมาณจนมองเห็นสีขาวชัดเจน ใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ จึงนำไปหว่านในสวนในร่มรำไร อย่าให้แสงแดดจ้า ในช่วงแล้งควรสับฟางข้าว หรือนำใบไม้แห้งโรยลงพื้นเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุเป็นอาหารชั้นดีของเห็ด เมื่อเตรียมหัวเชื้อไว้เรียบร้อยแล้วจึงนำไปหว่านลงดิน กะให้พอดีกับต้นฤดูฝน หากฝนทิ้งช่วงควรรดน้ำให้บ้างเป็นครั้งคราว จากนั้นอีกประมาณ 30-45 วัน จะมีดอกเห็ดปรากฏให้เห็น

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.senesouk.com/2017/05/blog-post_445.html

วิธีปลูก “ไผ่ตงลืมแล้ง” เพียง 1 ไร่ ให้ได้กำไรมากกว่าปีละ 2 แสน

วิธีปลูก “ไผ่ตงลืมแล้ง” เพียง 1 ไร่ ให้ได้กำไรมากกว่าปีละ 2 แสน

วิธีปลูก “ไผ่ตงลืมแล้ง” เพียง 1 ไร่ ให้ได้กำไรมากกว่าปีละ 2 แสน

ไผ่เศรษกิจรสชาติดีให้หน่อดกทนแล้งได้ดีให้หน่อได้ตลอดทั้งปี สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

         “ไผ่ตงลืมแล้ง” เป็นพืชที่ปลูกและดูแลไม่ยาก แต่หากเริ่มต้นไม่ถูกวิธีหรือเริ่มต้นแบบงูๆ ปลาๆ ก็อาจจะก่อปัญหาสร้างความกวนใจให้ผู้ปลูกไผ่ตงลืมแล้งมิใช่น้อย เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราลองมาดูวิธีการเริ่มต้นปลูกไผ่ตงลืมแล้ง เพื่อสร้างรายได้ให้กับเราดีกว่า  

การปลูกไผ่ตงลืมแล้งอย่างถูกวิธี
           ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกไผ่ตงลืมแล้งควรจะปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือราวเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม เนื่องจากในช่วงเริ่มแรกของการปลูกไผ่ตงลืมแล้ง ตัวของต้นไผ่เองต้องการน้ำมากจะขาดน้ำไม่ได้เลย เพราะไผ่ตงลืมแล้งต้องนำไปใช้เลี้ยงลำและสร้างหน่อใหม่

การเตรียมพื้นที่ในการปลูกไผ่ตงลืมแล้ง
           หากพื้นที่ที่จะปลูกไผ่ตงลืมแล้งมีต้นไม้ใหญ่อยู่ ก็ควรที่จะตัดโค่นไม้ใหญ่ออก เพราะจะไปแย่งอาหารจากไผ่ถ้า ไม่เช่นนั้นไผ่จะโตช้าและต้องให้ปุ๋ยมากกว่าปกติ ถ้าเป็นพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำจะดีมาก เพราะไผ่ตงลืมแล้งเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก โดยส่วนใหญ่แล้วไผ่ทั่วไปไม่ชอบน้ำขัง แต่สำหรับไผ่ตงลืมแล้งถึงแม้ว่าจะโดนน้ำท่วมขังก็ไม่ตาย ท่านเลือกพื้นที่ที่จะทำการปลูกได้แล้ว เราจะเริ่มการเตรียมพื้นที่ปลูกโดยการไถหยาบตากแดดให้ดินแห้งเพื่อกำจัดเชื้อราและวัชพืชบางชนิด ทิ้งไว้ สัก 5-7 วัน ไถละเอียดอีกครั้งเป็นอันใช้ได้

จำนวนกิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งที่จะใช้ปลูก ต่อ 1ไร่


                โดยส่วนใหญ่ผู้ปลูกไผ่ตงลืมแล้งจะนิยมปลูกไผ่ที่ระยะ 3*4 เมตร คือระยะห่างระหว่างต้น 3 เมตร ระยะห่างระหว่างแถว 4 เมตร ใช้กิ่งพันธุ์ประมาณ 120 กิ่งโดยมีหลักการคำนวนดังนี้
                1 ไร่ = 400 ตารางวา โดยที่ 1 วา = 4 เมตร ดังนั้นพื้นที่1 ไร่ = 1,600 ตาราเมตร
                พื้นที่ 1,600 ตารางเมตร. จะมีพื้นที่ขนาด กว้าง x ยาว = 40 เมตร x 40 เมตร.
                ต้องการปลูกระยะระหว่างแถว 4 เมตร จะสามารถปลูกไผ่ตงลืมแล้งได้ 40 เมตร/ 4 เมตร = 10 แถว
                ต้องการปลูกระยะระหว่างต้น 3 เมตร ต้องใช้กิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้ง 40/ 3 = 12 ต้น
                พื้นที่ 1 ไร่ จะใช้กิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งทั้งหมด ( 10 x 12 ต้น) = 120 ต้น
          หากปลูกที่ระยะน้อยกว่านี้ การเข้าไปดูแลจัดการสวนจะทำได้ยากและไม่สะดวก อีกทั้งไผ่ยังจะแย่งอาหารกันเองทำให้ต้องให้ปุ๋ยไผ่บ่อยกว่าเดิม

การปลูกไผ่ตงลืมแล้ง
           1. ขุดหลุมปลูกให้ได้ขนาดประมาณ 40 x 40 x 40 ซ.ม. แต่ขนาดของหลุมก็ขึ้นอยู่กับสภาพของดินถ้าเป็นร่วนปนทรายหลุมก็ไม่จำเป็นต้องใหญ่ บางพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวหลุมที่ปลูกก็จะเล็กลงมาหน่อย ระยะห่างระหว่างต้นอยู่ที่ 3 x 4 เมตร โดยขุดหลุมและนำดินขึ้นมากองไว้ใส่ปุ๋ยคอกผสมกับหน้าดินที่ขุดขึ้นมาลงไปประมาณ 0.5-1.0 กิโลกรัม แนะนำให้ใส่ยาฆ่าแมลงฟูราดานลงไปด้วย 1 ช้อนชาเพื่อแก้ปัญหาปลวกในพื้นที่ปลูก 


           2. หลังจากนั้นผสมดินกับปุ๋ยคอกให้เข้ากันรองก้นหลุม ด้วยดินที่ผสมปุ๋ยคอกแล้วเพื่อเป็นอาหารให้ต้นไผ่ในช่วงสองเดือนแรก โดยจะให้สูงจากดินก้นหลุมประมาณ 10-15 ซม. แล้วนำต้นกล้าไผ่ตงลืมแล้งวางลงไปในหลุม


           3. ให้วางกิ่งไผ่เอียงประมาณ 50-60 องศา เพราะหน่อต่อไปจะได้แทงขึ้นตรงและเร็ว ฉีกถุงพลาสติกออกก่อนวางกิ่งพันธุ์ กลบดินจนพูน ตอนนี้ให้รดน้ำและอัดดินให้แน่น เมื่อดินล่างแน่นแล้วให้กลบดินทั้งหมดลงไป พูนดินบริเวณโคนกิ่งไผ่ให้เป็นเนินสูงเล็กน้อย


           4. ใช้ไม้ปักเป็นหลักตอกยึดกิ่งไผ่ไว้ให้แน่น เพื่อกันลมโยกหรือถ้าลมไม่แรงมากก็ไม่ต้องปักหลักไม้ รดน้ำให้ชุ่ม ควรใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอื่นช่วยพรางแสงแดดจนกว่าต้นกล้าจะมีใบใหญ่และตั้งตัวได้ แล้วจึงค่อยเอาออก

การดูแลรักษา
1. การใส่ปุ๋ยไผ่ตงลืมแล้ง
          ในช่วงแรก (1-3เดือน) ต้นไผ่สามารถใช้ปุ๋ยคอกที่คลุกเคล้าไปกับดินที่ปลูกได้พอ แต่ในระยะต่อๆ ไป จำเป็นต้องมีการพรวนดินรอบๆ กอและใส่ปุ๋ยคอก 1 เดือน/ ครั้ง ครั้งละประมาณ 2-3 กิโลกรัม ในระยะนี้อาจจะเห็นว่าหน่อที่แตกจะมีขนาดค่อนข้างเล็กและจะมีขนาดโตขึ้นทุกๆ ปี ถ้าความชุ่มชื้นและดินอุดมสมบูรณ์ดีเพียงพอ แต่ถ้าจะให้ผลรวดเร็วควรจะให้ปุ๋ยเคมี 46-0-0 เร่ง ประมาณ2-3กำมือ/ กอ/ เดือน จะทำให้ไผ่เกิดหน่อปริมาณมากตลอดปี พอเข้าเดือนที่ 7 จะทำการตัดแต่งกอและพรวนดินเพื่อกำจัดวัชพืช ปกตินิยมพรวนดินอีกครั้งในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ก่อนที่ดินจะแห้ง เพราะถ้าดินแห้งจะพรวนดินยาก ในกรณีที่ต้องการเร่งการออกหน่อ (กรณีพิเศษ) จะใส่ในช่วงต้นเดือน ก.พ.ถึง พ.ค. ปุ๋ยที่นิยมคือใช้ปุ๋ยคอกเป็นหลัก ในอัตรา 2-3กิโลกรัมต่อ กอ/ เดือน หรืออาจใช้ปุ๋ยเคมีสูตร13-13-21 อัตรา 200กรัมต่อกอ และปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0  200กรัม/ กอ (เร่งหน่อเพื่อขาย ก่อนหน่อไม้ไทยจะเริ่มออกหน่อ)

2. การให้น้ำไผ่ตงลืมแล้ง 
         ช่วงแรก (โดยเฉพาะ 1-3 เดือน) ต้นไผ่ต้องการน้ำมาก ควรให้น้ำวันเว้นวัน แต่ถ้าปลูกไผ่ในฤดูฝน อาจไม่จำเป็นต้องให้น้ำถี่ขนาดนั้นก็ได้ นอกจากในกรณีฝนทิ้งช่วงนานจึงให้น้ำช่วย แต่หลังจากหมดฝนแล้ว ผู้ปลูกต้องคอยรดน้ำให้เสมออย่าปล่อยให้ขาดน้ำนาน เพราะในปีแรกต้นไผ่ยังไม่ค่อยแข็งแรงนักถ้าไม่มีน้ำ อาจตายได้โดยง่าย หลังจากต้นไผ่อายุเกิน 6-8 เดือน ไปแล้ว จะแข็งแรงและทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีขึ้น
 
3. การไว้ลำและการตัดแต่งกอไผ่ตงลืมแล้ง
          ไผ่ตงลืมแล้งเมื่อปลูกได้ประมาณ 3-4 เดือนจะเริ่มแตกหน่อได้ประมาณ 2-3 ลำ ในระยะแรกนี้จะไม่มีการตัดหน่อเลย ปล่อยให้เป็นลำต่อไป การดูแลกอไผ่ในช่วงนี้จะทำการตัดลำต้นที่เล็กออกไป ไม่ต้องเสียดาย ให้เหลือไว้เฉพาะลำที่ใหญ่ ลำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 นิ้วตัดทิ้งให้หมด
           วิธีการตัด ต้องตัดให้จมดิน อย่าให้มีตาเหลืออยู่อีก (ไม่ต้องการให้ขยายพันธุ์อีก) กิ่งแขนงเล็กๆ บริเวณโคนต้นที่ขึ้นเกะกะของลำแม่ควรตัดแต่งให้โล่ง (แสงแดดส่องถึงพื้นได้) เพื่อสะดวกในการให้น้ำและดูแล เมื่อต้นไผ่อายุได้ประมาณ 7-8 เดือนจะมีหน่อแทงขึ้นมาอีก 5-6 หน่อ ตอนนี้ก็ยังไม่มีการตัดหน่อ ปล่อยให้ไผ่เป็นลำต่อไป แต่ถ้าพื้นที่ตรงนั้นดินอุดมสมบูรณ์ดี หน่อออกเยอะเราควรตัดขายไปบ้าง เช่นถ้าขึ้นมา 5 หน่อให้ตัดขายไป 3 หน่อ แต่ให้เลือกเอาหน่อที่สมบูรณ์ไว้(หน่อที่เบียดกันให้ตัดออกขายไป) การดูแลกอไผ่เพียงแค่ตัดเอาหน่อเน่า ลำคดเอียงแคระแกร็นออกและตัดแต่งกิ่งแขนงเล็กๆทิ้ง รักษาลำไผ่ให้มีอยู่ประมาณ 5-6ลำ (ลำใหญ่ๆ) 
           จากนั้นจึงเริ่มตัดหน่อขายบ้าง การตัดหน่อขายนี้ควรจะตัดจากกลางกอก่อนแล้วขยายออกมารอบนอกกอ ซึ่งหน่อนอกๆ ต้องมีการรักษาไว้บ้างเพื่อให้เป็นลำแม่ โดยเลือกหน่อที่อวบใหญ่และอยู่ในลักษณะที่จะขยายออกเป็นวงกลมเพื่อจะทำให้กอใหญ่ขึ้น มีหน่อมากขึ้นในปีต่อไป สะดวกที่จะเข้าไปดูแลรักษาและตัดหน่อ การตัดแต่งกอนั้น ควรทำติดต่อกันทุกๆ ปี สำหรับไผ่ตงลืมแล้งนี้ควรแต่งกอไผ่ประมาณต้นเดือน ก.ค. เพราะตอนนี้ ไผ่ชนิดอื่นกำลังออกหน่อ ช่วงนี้หน่อไม้ออกเยอะราคาไม่ค่อยดี ควรปล่อยหน่อให้เจริญเป็นลำแม่ได้เต็มที่ พอต้นเดือนตุลาคมจึงค่อยอัดปุ๋ยคอกและน้ำเพื่อเร่งการออกหน่อในช่วงหน้าหนาวและหน้าแล้ง ช่วงนี้ราคาของหน่อไผ่จะดีมาก (พ.ย.-พ.ค.) ของทุกปี

4. การบังคับให้ไผ่ตงลืมแล้งเกิดหน่อมากขึ้น
           ในการบังคับให้ไผ่ตงลืมแล้งแทงหน่อมากขึ้นตามฤดูกาลนั้น นอกจากการใส่ปุ๋ยและปฏิบัติดูแลตามปกติแล้ว ยังมีวิธีกระตุ้นให้ไผ่ตงแทงหน่อมากขึ้น โดยการสุมไฟในฤดูแล้งช่วงที่ลมสงบ (ปลายเดือน ม.ค-ก.พ.) โดยการรวบรวมใบไผ่และ กิ่งแขนง ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งแล้วนำมากองให้ห่างจากกอประมาณ 1 เมตร จุดไฟเผา แต่ต้องระวังไม่ให้ไฟกระโชกมาก โดยการพรมน้ำช่วยหรืออาจเอาใบไผ่และกิ่งแขนงสุมในกอเลย แต่ต้องระวังไม่ให้ไฟลามไปติดส่วนบนๆ ของกอ ในการสุมไฟนั้น เข้าใจว่าเป็นการเร่งให้ไผ่ตงมีการพักตัวเร็วขึ้น (hardening) เมื่อก่อนเข้าสู่ฤดูฝนจะได้แทงหน่อมากขึ้น หลังจากที่ได้พักตัวอย่างเต็มที่และการสุมไฟยังช่วยในการกำจัดโรคและแมลงไปพร้อมกันด้วย 
          นอกจากนี้ ยังมีวิธีการบังคับการออกหน่อวิธีอื่นอีก เช่น การพรวนดินแปลงไผ่ตงลืมแล้ ทั้งในระหว่างแถวและระหว่างต้น โดยทำการพรวนดินในช่วงก่อนฤดูแล้ง ประมาณเดือน ก.ค.-ก.ย. เป็นการทำลายรากแก่เพื่อให้แตกรากใหม่ ดังนั้นในการพรวนดิน การให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ไผ่ตงลืมแล้งออกหน่อเร็วและดกตลอดปี ส่วนการบังคับให้ไผ่ตงลืมแล้งแทงหน่อนอกฤดูปกติก็ทำได้เช่นกัน โดยการบำรุงต้นด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มรวมกับปุ๋ยคอกและการให้น้ำอย่างถูกต้อง ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงสามารถเร่งหน่อได้ และจะทำได้เฉพาะแปลงปลูกที่มีแหล่งน้ำอย่างเพียงพอเท่านั้น (จำเป็น)

5. การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูของไผ่ตงลืมแล้ง 
           ปกติไม่มีการระบาดรุนแรงของโรคและแมลงในสวนไผ่มากนัก มีเพียงแมลงพวกหนอนผีเสื้อกลางคืนมากัดกิน และม้วนใบไผ่เพื่อหลบซ่อนและเป็นที่อาศัยในระยะเป็นดักแด้บ้างเล็กน้อย แมลงที่เข้าทำลายหน่ออ่อนของไม้ไผ่ส่วนมากเป็นประเภทกัดกินหน่อ 4-5 ชนิด คือ หนอนด้วงเจาะหน่อไผ่ (ไผ่ตงลืมแล้งไม่ค่อยเจอเพราะลำค่อนข้างตัน), ด้วงกินหน่อ, ด้วงงวงเจาะกิ่ง , เพลี้ยอ่อนและมวนดูดน้ำเลี้ยง การควบคุมและกำจัดสามารถกระทำได้หลายวิธี คือ ภายหลังที่หน่อเริ่มแตกจากตาของเหง้าปล้องแล้ว ก็หาทางป้องกันพวกเชื้อราและแมลงที่เข้ามากัดกินและอาศัยอยู่ตามกาบของหน่ออ่อน โดยการใช้สารปราบศัตรูพืช เช่น มาลาไทออน ผสมน้ำราดที่หน่อและเหง้า หรือใช้ฟูราดาน ภูไมด์ หว่านลงที่ดิน แต่อย่านำหน่อไปบริโภคภายใน 60 วัน หรือใช้วิธีควบคุมโดยการลิดกิ่ง หรือตัดลำแก่ที่เป็นที่อยู่ของดักแด้ออก แล้วทำลายหรือขายลำไป จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดจำนวนประชากรแมลงได้ ส่วนมากแล้วไม่ค่อยพบปัญหาเกี่ยวกับโรคต่างๆ ในไผ่ตงลืมแล้ง แต่จะพบเพลี้ยตัวสีขาวๆ เกิดขึ้นตามข้อไผ่อ่อน เราอาจใช้ผงซักฟอกละลายน้ำราดรดลงไปก็จะหาย ถ้ามีจำนวนน้อยไม่มากนักก็ใช้มือขยี้ ถ้าจำเป็นต้องใช้เคมีก็ต้องใช้ชนิดอ่อนๆ เช่น เซฟวิน ฉีดพ่นครับ

6.การตัดหน่อไผ่ตงลืมแล้ง


           ไผ่ตงลืมแล้งจะแทงหน่อตลอดปีแต่จะดกมากเมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน (เม.ย.-มิ.ย.) การตัดหน่อจะตัดเมื่อหน่อยาวประมาณ 1 ฟุต โดยใช้เสียมหางปลาตัดหน่อบริเวณกาบใบที่ 3 จากโคนหน่อ ซึ่งจะเหลือตาไว้ 2-3 ตา สำหรับแตกหน่อในช่วงถัดไป สำหรับหน่อที่ไม่แข็งแรงให้ตัดออกทิ้งไป 
           การตัดหน่อควรทำตอนเช้ามืด เพื่อจะได้หน่อไม้สดส่งตลาด หน่อไม้ไผ่ตงลืมแล้ง(หน่อไม้หวาน)ที่ตัดไว้นาน ๆ จะทำให้ความหวานของหน่อลดลง ดังนั้น ควรตัดหน่อแล้วรีบขายทันที ในการตัดหน่อควรเริ่มตัดหน่อจากกลางกอก่อน แล้วขยายวงออกมารอบนอกกอ ส่วนหน่อที่อวบใหญ่ที่อยู่ด้านนอกควรมีการรักษาไว้เพื่อให้เป็นลำแม่

7.การแก้ปัญหาโคนไผ่ลอย
           ไผ่ตงลืมแล้งหากโคนไผ่ลอยจะทำให้ออกหน่อน้อยหรือแทบจะไม่ออกเลย มีวิธีแก้แบบง่ายๆ ดังนี้


ที่มาเนื้อหาและภาพ : สวนไผ่อริยะระยองขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก : http://xn--72cfa1hey3b0dtji.com/detail.php?id=2167

วิธีปลูกข่าเหลืองขาย ไร่ละแสนอัพ ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวนาน

วิธีปลูกข่าเหลืองขาย ไร่ละแสนอัพ ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวนาน

วิธีปลูกข่าเหลืองขาย ไร่ละแสนอัพ ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวนาน
ปลูกข่าเหลืองขาย พืชทำเงินต่อไร่สูง หลักแสนบาททำได้ ลงทุนครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้นาน สร้างรายได้ต่อเนื่อง  ถ้าว่าไปแล้วใครๆก็คงรู้จัก ถ้าแค่จะปลูกเป็นพืชผักสวนครัวไว้บริโภคในบ้านนั้นคงไม่ต้องยุ่งยากอะไรมาก เพราะปลูกได้ง่ายๆ แต่ถ้าหากว่าใครสนใจอยากจะปลูกข่าเหลืองขาย ก็ควรเรียนรู้เรื่องการเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงๆต่อพื้นที่ ทั้งนี้ความต้องการของตลาดก็มีสูงต่อเนื่อง เพราะนำไปทั้งทำอาหารและอุสาหกรรมยาด้วย
ข่าเหลือง ตลาดใหญ่ของข่าเหลืองอยู่แถวภาคอีสานของไทย ใครสนใจอยากจะทำธุรกิจเกษตรบางกอกทูเดย์เรามีวิธีปลูกข่าเหลืองมาแนะนำ เพื่อเป็นโอกาสสำหรับผู้ที่สนใจในธุรกิจเกษตร เพราะยิ่งสามารถปลูกผสมเข้าไปกับสวนพืชอื่นๆแล้ว ก็อาจจะช่วยเพิ่มรายได้เข้ามา หรือปลูกเป็นพืชสวนผสมก็ทำให้มีรายได้หมุนเวียนมั่นคงมากขึ้น
ปลูกข่าเหลือง :เครดิตภาพจาก www.ranong.doae.go.th
ปลูกข่าเหลือง :เครดิตภาพจาก www.ranong.doae.go.th
วิธีปลูกข่าเหลืองขาย [เชิงการค้า]
การเลือกพันธุ์ข่าเหลือง  ต้นพันธุ์ คือสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้ามีพันธุ์ที่ดีแล้ว ทุกอย่างจะง่ายขึ้นมาก ทั้งการปลูก การดูแลรักษา และรวมถึงผลผลิตที่จะได้รับด้วย ดังนั้นแล้วผู้ปลูกควรคัดเลือกต้นพันธุ์ที่ดีและเป็นที่ต้องการของตลาดด้วย ส่วนราคาของพันธุ์ข่า นั้นขายเป็นกิโลกรัม ราวๆ 30 บาทต่อกิโลกรัม การใช้พันธุ์ข่าต่อ 1 ไร่ ประมาณ 500 กิโลกรัม ควรเป็นข่าแก่
วิธีการปลูกข่าเหลือง ควรปลูกเป็นแถวระยะห่างประมาณ 70×70 เซนติเมตร ก่อนลงหลุมปลูก ควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 พร้อมด้วยปูนขาวประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ หลังจากปลูกแล้วเกษตรกรต้องกำจัดวัชพืชที่ขึ้นรอบหลุมปลูกเป็นประจำและให้ปุ๋ยสูตรเดิม หรือ 46-0-0 เดือนละประมาณ 2 ครั้ง จนกระทั่งข่าเหลืองอายุได้ 7 เดือน ก็สามารถขุดจำหน่ายได้ แต่ช่วง 15 วัน – 1 เดือน ก่อนที่จะขุดข่าเหลืองส่งตลาด ต้องใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 อีกครั้ง เพื่อกระตุ้นให้หน่อมีความสมบูรณ์ อวบใหญ่และมีน้ำหนักมากขึ้น
ขอบคุณข้อมูลการปลูก จาก cr. กลุ่มเกษตรก้าวใหม่ by Rakkaset Nungruethail (คุณหนึ่ง) บรรณาธิการ หนังสือรักษ์เกษตร)
คำนวณต้นทุนของการปลูกข่าเหลือง
การปลูกข่าเหลือง ต้นทุนต่อไร่ ทั้งพันธุ์ข่า และค่าอื่นๆตอนเริ่มปลูก ตกราวๆ 20,000 บาทต่อไร่ ในตอนเริ่มต้น ผู้ปลูกถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี หรือดินสภาพดี ก็จะช่วยลดต้นทุนอย่างมีนัยสำคัญได้ สำหรับท่านที่ปลูกมากก็ต้องวางแผนค่าแรงรวมถึงช่วงนำผลผลิตออกจำหน่ายด้วย ตลาดค้าปลีกที่น่าสนใจในปัจจุบัน ร้านค้าสะดวกซื้อ ร้านชุมชนต่างๆ
วิเคราะห์แนวโน้มโอกาสของข่าเหลือง จากประโยชน์
ข่าเหลือง ( Yellow Galango) ประโยชน์ทางอาหาร เหง้าใช้เป็นเครื่องเทศ ใช้เป็นส่วนผสมในการทำอาหารของมนุษย์ เช่น ต้มต่างๆ ลาบ แกงขั้ว และผักจิ้ม ฯลฯ เหง้ามีสารอาหารคาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส แคลเซี่ยมและวิตามินซี ข่าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบเครื่องทำต้มยำ อาหารอันเลื่องชื่อ เอกลักษณ์ของบ้านเราที่ทำให้ทั่วโลกรู้จักและประทับใจประเทศไทย เวลาที่คุณกินต้มยำคุณจะรู้สึกว่าร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น จากที่เคยแน่นท้องหรือมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อก็หายเป็นปลิดทิ้ง นั่นก็เป็นเพราะสรรพคุณของข่าที่จัดเป็นยาขับเลือดลมขนานเอกขนานหนึ่งเลยทีเดียว ดังนั้นแล้วโอกาสที่ข่าจะเป็นวัตถุดิบในการผลิตยาหรือเครื่องเทศต่างๆจึงมีมากทั้งในปัจจุบันและอนาคต ยิ่งปัจจุบันคนใส่ใจสุขภาพ มีความรู้เรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น ยิ่งความรู้เรื่องสรรพคุณของข่า มีการเผยแพร่วงกว้างมากเท่าใดโอกาสก็มากตามเท่านั้น คิดแค่ว่า อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยเรา คือ ต้มยำ ก็มีข่าเป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้
ตลาดข่าเหลือง ตลาดที่ใหญ่ๆ จะอยู่แถบอีสาน สำหรับผลตอบแทนต่อไร่นั้น ปัจจุบัน ราวๆ 100,000 บาท ขึ้นไป จากข้อมูลที่บางกอกทูเดย์สำรวจมา ความต้องการของข่าเหลืงจมีทั้งแบบซื้อนำไปประกอบอาหารและใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา จึงทำให้ข่าเหลืองเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องอีกทั้งการปลูกแต่ละครั้ง จะเก็บเกี่ยวผลผลิตซ้ำได้หลายปี ขึ้นอยู่กับการดูรักษาด้วย
ขอบคุณ ภาพประกอบจาก www.ranong.doae.go.th ,เนื้อหาการปลูก จาก กลุ่มเกษตรก้าวใหม่ by Rakkaset Nungruethail (คุณหนึ่ง) บรรณาธิการ หนังสือรักษ์เกษตร)
เรียบเรียง โดย บางกอกทูเดย์.เน็ต
 

วิธีปลูกมะพร้าวน้ำหอมให้ได้ลูกดกตลอดทั้งปี แถมยังสร้างรายได้หลักหมื่นอีกด้วย!!!

วิธีปลูกมะพร้าวน้ำหอมให้ได้ลูกดกตลอดทั้งปี แถมยังสร้างรายได้หลักหมื่นอีกด้วย!!!

วิธีปลูกมะพร้าวน้ำหอมให้ได้ลูกดกตลอดทั้งปี แถมยังสร้างรายได้หลักหมื่นอีกด้วย!!!

มะพร้าวน้ำหอม ผลไม้ไทยอีกหนึ่งอย่างที่โด่งดังไปทั่วโลก ด้วยรสชาติอันหวานหอมของน้ำมะพร้าว อีกทั้งเนื้อมะพร้าวก็มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มีมะพร้าวน้ำหอมส่งขายต่างประเทศ ยิ่งผู้บริโภครู้ว่า น้ำมะพร้าวมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยชะลอความแก่ บำรุงผิวพรรณ ความต้องการเลยเพิ่มมากขึ้น สำหรับใครที่สนใจอยากปลูกมะพร้าวน้ำหอม ให้มีลูกดกตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะปลูกกินหรือปลูกขาย วันนี้ ลูกหมี มีเคล็ดลับการปลูกมะพร้าวดีๆจากเพจ ศูนย์รวมความรู้การเกษตร  มาฝากกันค่ะ ว่าแล้วก็ไปดูกันเลย
เริ่มจากการเตรียมหลุมปลูก
เตรียมพื้นที่ โดยไถแปร ไถพรวน ชักร่อง ใช้ระยะ 3x2 เมตร แล้วหว่านเมล็ดพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ฯลฯ เพื่อปรับปรุงคุณภาพดิน และเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ให้กับดินในราคาถูกที่สุด
ควรเตรียมหลุมปลูกในฤดูแล้ง ขุดหลุมขนาด ๕๐x๕๐x๕๐ เซนติเมตร แยกดินส่วนบนไว้ต่างหาก ตากลุมอย่างน้อย ๑ สัปดาห์ถ้ามีปลวกให้เผาเศษไม้ ใบไม้แห้งในหลุม หรืออาจใช้ยากันปลวกโรยก้นหลุมก็ได้
ถ้าปลูกมะพร้าวในพื้นที่แห้งแล้งหรือดินที่ปลูกเป็น ทรายจัดให้ใช้กาบมะพร้าวก้นหลุม โดยวางกาบมะพร้าวในด้านที่มีเส้นใยหงายขึ้นข้าง บนวางซ้อนกัน ๒-๓ ชั้น เพื่อช่วยเก็บความชื้นในดิน
ถ้าไม่มีกาบมะพร้าวจะใช้วัสดุอื่น เช่น ฟางข้าว ใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฯลฯ แทนก็ได้ ใส่ดินบนที่ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา ๑:๗ รองก้นหลุมส่วนดินล่างผสมด้วยปุ๋ยฟอสเฟตหลุมละครึ่งกิโลกรัม (ประมาณ ๒กระป๋องนม) เอาดินใส่ลงในหลุมให้เต็ม ทิ้งไว้จนถึงฤดูปลูก
เมื่อขุดหลุมปลูกแล้ว ควรวางลูกมะพร้าวในลักษณะเอียง 45 องศา ปลูกแบบขวางตะวัน เพราะจะทำให้ได้รับแสงแดดตลอดเวลา กลบดินอย่างน้อย 2 ใน 3 ของผล ระวังอย่าให้ดินทับโคนหน่อ เพราะจะทำให้หน่อถูกรัด ต้นจะโตช้า แต่เมื่อมะพร้าวโตขึ้นแล้วก็ควรจะกลบดินให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันโคนลอย ทั้งนี้ มะพร้าวใช้เวลาปลูก 30 เดือน หลังจากลงหลุม จึงจะเก็บผลผลิตได้
ระยะปลูกที่เหมาะสม 
คือ ระยะระหว่างต้น x ระยะระหว่างแถว เท่ากับ 6x6 เมตร
วิธีการใส่ปุ๋ยมะพร้าวน้ำหอม :
แม้ว่ามะพร้าวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในสภาพดินแทบทุกชนิด แต่ปริมาณผลผลิตนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุอาหาร และสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะแก่การ ปลูกมะพร้าวควรอยู่ในช่วงระหว่าง pH ๖-๗
การใส่ปุ๋ยให้พอเหมาะแก่ความต้องการ ของมะพร้าวนั้น ควรนำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการด้วย
ใช้ปุ๋ยคอกจากขี้ไก่แกลบ ทั้งนี้ เพราะมีซิลิกอน ใช้จำนวน 2 กระสอบ ต่อต้น ต่อปี ใส่ทุก 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง ใส่แล้วรดน้ำตาม ใช้เกลือร่วมด้วยในปริมาณ 1.5 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ใส่ 2 ครั้ง ส่วนปุ๋ยวิทยาศาสตร์ใส่ด้วยทุก 3 เดือน ในปริมาณ 0.5 กิโลกรัม ใช้สูตร 16-16-16
จากการศึกษาพบว่า รากมะพร้าวที่สามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ดีจะอยู่บริเวณติดกับลำต้นและอยู่ ห่างจากลำต้นภายในรัศมี ๒ เมตร ดังนั้นการใส่ปุ๋ยตั้งแต่โคนต้นไปจนถึง ๒ เมตรโดยรอบ แต่ถ้าเป็นมะพร้าวที่ยังเล็กอยู่ควรหว่านปุ๋ยใกล้โคน มะพร้าวเพราะ รากยังน้อย หลังจากหว่านปุ๋ยแล้วควรพิจารณาดินตื้น ๆ ลึกประมาณ ๑๐ – ๑๕ เซนติเมตร เพื่อให้ปุ๋ยได้คลุกเคล้ากับดินและป้องกัน การชะล้าง
มะพร้าวให้ผลผลิตตอนอายุกี่ปี?
หลังจากปลูกมะพร้าวไปได้ 3 ปี มะพร้าวก็จะเริ่มออกผลแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของมะพร้าวด้วย อีกทั้งมะพร้าวน้ำหอมเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ย ฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องใส่ปุ๋ยบำรุงมะพร้าวด้วย หลังจากที่มะพร้าวออกดอกจนติดลูกแล้ว ก็รอเวลาอีก 7 เดือน สามารถเก็บมะพร้าวได้ เพราะเป็นช่วงเวลาที่มะพร้าวมีคุณภาพ หอมหวานมากที่สุด
ใครสนใจอยากปลูกมะพร้าวน้ำหอมไว้ทานเองที่บ้าน หรือมีพื้นที่อยากปลูกขาย ลองทำตามเทคนิคด้านบนดูนะคะ น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
ชมภาพเพิ่มเติม
ดกมาก
วิธีตัดทะลายมะพร้าวแบบใช้เชือกมัดทะลายค่อยๆปล่อยๆลงมา 
ถึงพื้นแบบปลอดภัย ผิวไม่ช้ำ ไม่ถลอก
ผลผลิตเยอะมากๆ
ตอนเก็บมะพร้าวออกจากสวนขึ้นรถ
สำหรับคนที่สนใจการปลูกมะพร้าวน้ำหอม สามารถรับชมวิดิโอเพิ่มเติมได้ข้างล่างนี้ค่ะ

เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Lookmhee.com
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : 
ศูนย์รวมความรู้การเกษตร , รายการก้าวไกลกับกรมวิชาการการเกษตร รวมความรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามรอยพ่อ
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก : http://www.thairath.co.th
ขอขอบคุณรูปภาพเพิ่มเติมจาก : สวนหม่อนไม้kaset-plant-magazineonline.nakaintermedia.com,